สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 19-25 ม.ค.61

สับปะรด

ผลผลิต ลดลง
          ปริมาณผลผลิตสับปะรดที่ออกสู่ตลาดเดือนมกราคม 2561 ประมาณ  0.129 ล้านตัน หรือร้อยละ 5.23 ของปริมาณผลผลิตรวม 2.462 ล้านตัน ลดลงจากปริมาณ 0.216 ล้านตัน ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 40.27 และเพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.126 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 2.38
การส่งออก เพิ่มขึ้น
          ปี 2560 มีการส่งออกสับปะรดสดและผลิตภัณฑ์ปริมาณรวม 1.944 ล้านตันสด เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 1.790 ล้านตันสด ในปี 2559 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.60
ราคา  สับปะรดโรงงาน เพิ่มขึ้น
        สับปะรดบริโภค ทรงตัว  
                
          ช่วงนี้มีผลผลิตสับปะรดออกสู่ตลาดประมาณวันละ 6,000 ตัน ขณะที่โรงงานแปรรูปสับปะรดมีความต้องการวัตถุดิบอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้โรงงานแปรรูปปรับราคารับซื้อเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยราคาที่เกษตรกรขายได้ ดังนี้
          - สับปะรดโรงงานกิโลกรัมละ 3.43 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.15 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 8.89 และลดลงจากกิโลกรัมละ 7.25 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 52.68           
          - สับปะรดบริโภคกิโลกรัมละ 8.57 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และลดลงจากกิโลกรัมละ 13.90 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 38.34  

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.03 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.88 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.90 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.54 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.40 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.19
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.62 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.55 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.73 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.77 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 312.40 ดอลลาร์สหรัฐ (9,841 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 308.60 ดอลลาร์สหรัฐ (9,781 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.23 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 60.00 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2560/61 ว่ามี 1,066.73 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,062.20 ล้านตัน ในปี 2559/60 ร้อยละ 0.43 โดยสหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อินเดีย อียิปต์ แคนาดา เวียดนาม และอาร์เจนตินา มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลก มี 150.82 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 141.71 ล้านตัน ในปี 2559/60 ร้อยละ 6.43 โดยบราซิล อาร์เจนตินา ปารากวัย และเมียนมาร์ ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น เม็กซิโก สหภาพยุโรป อียิปต์ เกาหลีใต้ เวียดนาม อิหร่าน โคลัมเบีย แอลจีเรีย ซาอุดิอาระเบีย ไต้หวัน มาเลเซีย และเปรู มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น (ตารางแนบท้าย)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 353.44 เซนต์ (4,441 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 349.70 เซนต์ (4,420 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.07 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 21.00 บาท
 
บัญชีสมดุลข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โลก
(คาดคะเนเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2561)
 
หน่วย  ล้านตัน    
  รายการ                                                                          
ปี 2560/61
ปี 2559/60
ผลต่างร้อยละ
สต็อกต้นปี               
228.75
214.96
6.42
ผลผลิต                 
1,044.56
1,075.99
-2.92
นำเข้า
150.82
141.71
6.43
ส่งออก                   
150.82
141.71
6.43
ใช้ในประเทศ         
1,066.73
1,062.20
0.43
สต็อกปลายปี  
206.57
228.75
-9.70

ที่มา  กระทรวงเกษตรสหรัฐ ฯ

                                                                                           


ฝ้าย 

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้

         ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

 ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
          ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนมีนาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 82.65 เซนต์
(กิโลกรัมละ 58.15 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 81.97 เซนต์ (กิโลกรัมละ 58.02 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.13 บาท

        
        

                                                    
ปศุสัตว์

สุกร
 
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ 
           สถานการณ์ตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา  เนื่องจากสภาพอากาศที่ยังคงเย็นเอื้ออำนวยให้สุกรเจริญเติบโตดีและมากกว่าความต้องการบริโภค ส่งผลให้ราคาเนื้อสุกรอ่อนตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว 
           สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  48.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.43 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.89 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 47.25 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 48.69 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 48.52 บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.81 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้     ตัวละ 1,300 (บวกลบ 43 บาท) สูงขึ้นจากตัวละ 1,200 บาท  (บวกลบ 40 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 8.33
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
           ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.96
 
ไก่เนื้อ

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
           สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคมีเริ่มมากขึ้นหลังจากผ่านเทศกาลวันปีใหม่ ประกอบกับยังอยู่ในช่วงเทศกาลท่องเที่ยว ส่งผลให้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เริ่มปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย   แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
           ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.87 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.15 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.99 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.79 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.00 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ  13.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
           ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท  และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไข่ไก่

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
           ภาวะตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย  แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
           ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 255 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 254 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.39 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 275 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 285 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 238 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
           ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 261 บาท  สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 251 บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.98

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
           ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 336 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 347 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 349 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 310 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ  351 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
           ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 370 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 360 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.78
 
โคเนื้อ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ   
           ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 91.55 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 91.56 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.01 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัม 92.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 88.44 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 93.09 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 96.45 บาท
 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
           ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 72.94 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.89 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.07   โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.66 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 69.14 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
  
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

          ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 47.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.64
          ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.28 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
           ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 
           ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

 


ถั่วเหลือง

1.  สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
          ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.48 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
          
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
          ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 20.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
     การส่งออกถั่วเหลืองในปัจจุบัน

     ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
          ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 986.40 เซนต์ (11.57 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 968.30 เซนต์ ( 11.42 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.87
          ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 338.44 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.80 บาท/กก.)  สูงขึ้นจากตันละ 323.55 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.39 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.60
          ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 32.43 เซนต์ (22.82 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 32.65 เซนต์ (23.10 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.67

         หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน  

                                                             


                          

ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
          ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.66 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 16.81  บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.84
          ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา 
          ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
          ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
          ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
          ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
          ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
          ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 662.20 ดอลลาร์สหรัฐ (20.86 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 659.20 ดอลลาร์สหรัฐ (20.89 บาท/กิโลกรัม)  ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
          ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา 
          ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 407.40 ดอลลาร์สหรัฐ (12.83 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 405.40 ดอลลาร์สหรัฐ (12.85 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
          ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 719.40 ดอลลาร์สหรัฐ (22.66 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 716.20 ดอลลาร์สหรัฐ (22.70 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.45 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท

ไหม

     ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,604 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,616 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา   ร้อยละ 0.74
     ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  1,242 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,239 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 0.24
     ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,141 บาท  ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,147 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา   ร้อยละ 0.52



ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
 
ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด

      มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2560/61
      มติที่ประชุม ครม.
 เห็นชอบมาตรการฯ จำนวน 13 โครงการ ดังนี้
      (1) ด้านการผลิต มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 และวันที่ 12ธันวาคม 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี 2) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่ หลักเกณฑ์ใหม่) 3) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์4) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 5) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 25616) โครงการขยายการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 7) โครงการขยายการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561และ 8) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์ ฤดูนาปรัง ปี 2561
      (2) ด้านการตลาด มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 และเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่ 1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร 2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร 3) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวนาปี และ 4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
      (3) ด้านการเงิน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 เห็นชอบ โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2560
     
      ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่เกษตรกรขายได้ สูงขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์
ที่ผ่านมา เนื่องจากผู้ประกอบการส่งออกต้องการข้าวเพื่อทยอยส่งมอบตามคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ
 
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
      ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 13,675 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,499 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.30
      ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,815 ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,713 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.32
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
      ข้าวหอมมะลิ 100%
  ชั้น 1 (ใหม่)   สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 31,490 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 31,130 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.15
      ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,770 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,170 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.93
     
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
      ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
      ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
      ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
      ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.5027 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
      
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2560/61 ประจำเดือนมกราคม 2561 ว่าจะมีผลผลิต 484.709 ล้านตันข้าวสาร (723.2 ล้านตันข้าวเปลือก) ลดลงจาก 487.078 ล้านตันข้าวสาร (726.5 ล้านตันข้าวเปลือก) หรือลดลงร้อยละ 0.49 จากปี 2559/60
2) การค้าข้าวโลก
      บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2560/61 ณ เดือนมกราคม 2561 ว่าผลผลิต ปี 2560/61 จะมี 484.709 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2559/60 ร้อยละ 0.49 การใช้ในประเทศจะมี 481.746 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.03 การส่งออก/นำเข้าจะมี 46.242 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.29 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 141.075 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 2.15
      โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย บราซิล กัมพูชา จีน กายานา ปากีสถาน ปารากวัย และเวียดนาม ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา เมียนมาร์ อียู รัสเซีย อุรุกวัย สหรัฐอเมริกา และไทย
      สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ แองโกลา คาเมรูน ไอเวอรี่โคสต์ คิวบา อียู กานา กินี อิรัก เคนย่า เนปลาล ฟิลิปปินส์ ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล และสหรัฐอาหรับเอมิเรส ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ บังคลาเทศ เบนิน บราซิล จีน อิหร่าน มาเลเซีย เม็กซิโก โมแซมบิค ไนจีเรีย และแอฟริกาใต้
      ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ แองโกลา คาเมรูน ไอเวอรี่โคสต์ คิวบา อียู กินี อิรัก เคนย่า เนปาล ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ บังคลาเทศ บราซิล จีน อิหร่าน มาเลเซีย เม็กซิโก โมแซมบิค และแอฟริกาใต้
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ 
      เวียดนาม
      
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ข้าวขาวจากประเทศเวียดนาม ได้พัฒนาจนมีคุณภาพแซงหน้าข้าวขาวไทยแล้ว เห็นได้จากการตั้งราคาข้าวขาวสายพันธุ์ใหม่ของเวียดนามที่สูงกว่าข้าวขาว 5% ไทย 60-80 ดอลลาร์/ตัน และที่สำคัญข้าวเวียดนามสายพันธุ์ใหม่สามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดข้าวขาวไทยได้ในหลายตลาด โดยเฉพาะตลาดจีน มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นต้น เนื่องจากเป็นข้าวที่นิ่มมาก จึงเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคที่ต้องการบริโภคข้าวราคาไม่แพง "ทราบว่าเป็นข้าวพันธุ์ใหม่ที่เวียดนามได้คิดค้นและพัฒนาขึ้นมา โดยเป็นข้าวขาวที่นิ่มมากและเริ่มทำตลาดได้ในหลายๆ ประเทศ ที่สำคัญราคาแพงกว่าข้าวขาวของไทยอีก ซึ่งราคาอยู่ที่ 460-480 ดอลลาร์/ตัน ส่วนข้าวขาว 5% ไทย อยู่ที่ 400 ดอลลาร์/ตัน จากปกติที่ข้าวขาวไทยจะแพงกว่าเวียดนามเฉลี่ย 40-50 ดอลลาร์/ตัน" นายชูเกียรติ กล่าว
      ที่ผ่านมาหลายๆ รัฐบาลหันไปสนใจเกี่ยวกับโครงการเพื่อหาเสียงทางการเมือง ขณะที่รัฐบาลชุดปัจจุบันใช้เวลาในการระบายข้าวจากโครงการรับจำนำของรัฐบาลชุดก่อนเกือบ 20 ล้านตัน จึงไม่มีเวลาเพียงพอที่จะพัฒนาสายพันธุ์ข้าว โดยเฉพาะข้าวขาวที่ราคาไม่แพง เพราะคนในประเทศและอีกหลายๆ ประเทศยังบริโภคข้าวขาวที่มีราคาถูก
      อย่างไรก็ตาม การทำงานด้านข้าวของรัฐบาลชุดปัจจุบันถือว่าบริหารงานถูกทางแล้ว ที่เน้นการสร้างความยั่งยืนแก่เกษตรกรในระยะยาว แต่ภาคเอกชนต้องการเสนอให้รัฐบาลเร่งพัฒนาเพิ่มสายพันธุ์ข้าวใหม่ และต้องมีผลผลิตต่อไร่สูงด้วย เพื่อจูงใจให้ชาวนาปลูกและเพื่อหนีคู่แข่ง ไม่อย่างนั้นอาจทำให้เพื่อนบ้านพัฒนาข้าวจนแซงหน้าประเทศไทยในบางประเภท เบื้องต้นแม้ว่ารัฐบาลจะยืนยันว่าปัจจุบันมีข้าวขาวคุณภาพดีหลายสายพันธุ์ที่ออกมาใหม่ๆเช่น ข้าวขาวพันธุ์ 
กข.43 ที่มีน้ำตาลน้อยเหมาะกับคนที่เป็นโรคเบาหวาน แต่ผลผลิตต่อไร่ที่ออกมายังไม่มากนัก จึงไม่จูงใจชาวนาเท่าที่ควร
      รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ราคาส่งออกข้าวในปัจจุบัน พบว่าราคาข้าวขาว 5% ของไทยส่งออก 
อยู่ที่ 395 ดอลลาร์/ตัน ข้าวขาวชนิดเดียวกันที่เวียดนามส่งออกอยู่ที่ 390 ดอลลาร์/ตัน ขณะที่ข้าวขาวของกัมพูชาส่งออกที่ 445 ดอลลาร์/ตัน ข้าวขาวอินเดียส่งออกที่ 390 ดอลลาร์/ตัน และข้าวขาวปากีสถานส่งออกที่ 380 ดอลลาร์/ตัน
      ขณะที่การส่งออกข้าวหอมมะลิ 100% ของไทยอยู่ที่ราคา 975 ดอลลาร์/ตัน ข้าวหอม Phka Malis Rumduol 5% ของกัมพูชาส่งออกที่ 740 ดอลลาร์/ตัน ส่วนราคาขายส่งข้าวสารในประเทศ พบว่า ข้าวขาว 5% ราคาอยู่ที่ 1.25 หมื่นบาท/ตัน ข้าวสารหอมมะลิ 100% ชั้น 2 ฤดูกาลผลิต 2560/2561 อยู่ที่ 3-3.15 หมื่นบาท/ตัน โดยราคาข้าวเปลือก 5% ความชื้น 15% จ.พระนครศรีอยุธยา ราคาอยู่ที่ 8,000 บาท/ตัน และราคาข้าวเปลือกหอมมะลิความชื้น 15% อยู่ที่ 1.53-1.6 หมื่นบาท/ตัน โดยปี 2561 กระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าส่งออกข้าวไทยไว้ที่ 9.5 ล้านตัน มูลค่า 4,700 ล้าน ดอลลาร์
 ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
 สิงคโปร์
      
อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้รับรายงานจากสำนักงานส่งเสริมการค้า
ในต่างประเทศ ณ กรุงสิงคโปร์ ว่า ชาวสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพกันมากขึ้น และสนใจบริโภคอาหารที่ไม่มีน้ำตาล ประกอบกับรัฐบาลสิงคโปร์ได้มีนโยบายในการต่อสู้กับโรคเบาหวาน ส่งผลให้ชาวสิงคโปร์หันมาบริโภคข้าวกล้องมากขึ้น เพราะไม่ต้องการเป็นโรคเบาหวาน และในร้านอาหารมีทางเลือกระหว่างข้าวขาวกับข้าวกล้องให้กับผู้บริโภค 
      ขณะเดียวกันร้านอาหารในสิงคโปร์มีการใช้เมนูข้าวกล้อง และใช้ข้าวกล้องเสิร์ฟให้กับลูกค้า รวมถึงใน ซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำมีข้าวกล้องและสินค้าเพื่อสุขภาพวางจำหน่ายมากขึ้น จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ส่งออกข้าวของไทยที่จะ ผลักดันและเพิ่มการส่งออกข้าวกล้องเข้าสู่ตลาดสิงคโปร์ 
      สำหรับการทำตลาดข้าวกล้องในสิงคโปร์ อยากแนะนำให้ผู้ส่งออกติดตามคู่แข่งสำคัญอย่างประเทศเวียดนามและกัมพูชา ได้มีการผลิตข้าวกล้องมาจำหน่ายในสิงคโปร์เช่นกัน รวมถึงมีผู้ประกอบการด้านอาหารนำมาใช้ เนื่องจากราคาถูกกว่าข้าวกล้องของไทย ซึ่งผู้ส่งออกต้องแสดงให้ผู้นำเข้าและร้านอาหารเห็นว่าข้าวไทยมีคุณภาพดีกว่า เพื่อให้ข้าวกล้องไทยเป็นที่ต้องการของตลาด และควรเจรจากับผู้นำเข้าข้าวของสิงคโปร์ที่เป็นลูกค้าของผู้ส่งออกไทยในการขอใช้ตราสัญลักษณ์ Healthier Choice ของรัฐบาลสิงคโปร์ เพราะผู้บริโภคสิงคโปร์จะพิจารณาตรานี้เป็นคู่มือในการซื้อสินค้าเพื่อสุขภาพ 
      อีกทั้งต้องมีการติดตามการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวของศูนย์วิจัย "Temasek Life Sciences Laboratory" ที่ได้พัฒนาข้าวกล้องสายพันธุ์หอมมะลิเป็นพันธุ์แรกของสิงคโปร์ ชื่อว่า "Temasek Rice" โดยใช้เวลาในการพัฒนากว่า 8 ปี
มีคุณสมบัติทั้งความทนทานต่อความแล้ง น้ำท่วม หรือศัตรูพืช และให้ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ยไร่ละ 1 ตัน ซึ่งมากกว่าข้าวทั่วไป 4 เท่า โดยอาจส่งผลกระทบต่อการนำเข้าข้าวกล้องของไทยในอนาคต
      อย่างไรก็ตาม อยากแนะนำให้ผู้ส่งออกของประเทศไทยทำการประกันความเสี่ยงค่าเงิน เพื่อลดผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่า และจะทำให้ข้าวไทยแข่งขันได้ดีขึ้น รวมถึงจะช่วยลดความผันผวนด้านราคาส่งออกข้าว ส่วนเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำนั้น กรมฯ ได้มีการติดตามผลกระทบอย่างใกล้ชิด เพื่อดูว่าจะมีผลกระทบต่อต้นทุนการส่งออกข้าว หรือไม่ เพราะในอุตสาหกรรมข้าวมีแรงงานภาคเกษตร แรงงานขนย้ายข้าวเป็นจำนวนมาก แต่ทั้งนี้ เชื่อว่าผู้ส่งออกน่าจะ บริหารจัดการต้นทุนได้ และไม่ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการส่งออกข้าวของไทย
      เรียกได้ว่าตลาดข้าวไทย โดยเฉพาะข้าวกล้องยังมีโอกาสและมีอนาคตเสมอ หากผู้ประกอบการพร้อมปรับตัวก็จะ สามารถหาตลาดใหม่ได้อย่างแน่นอน
 ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
ฟิลิปปินส์
      รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า สำนักงานส่งเสริมการค้าไทยในต่างประเทศ (สคต.) ที่รับผิดชอบพื้นที่ ประเทศฟิลิปปินส์ได้คาดการณ์ตลาดข้าวฟิลิปปินส์ โดยพบว่าในปี 2561 ตลาดข้าวฟิลิปปินส์ยังเป็นโอกาสของผู้ส่งออก ข้าวไทยที่จะส่งออกข้าวไปฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้น เพราะแม้ผลผลิตข้าวของประเทศฟิลิปปินส์ปีนี้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แต่
ความต้องการบริโภคก็เพิ่มสูงเช่นเดียวกัน อีกทั้งฟิลิปปินส์ที่ตั้งอยู่ในเขตพายุไต้ฝุ่นอาจได้รับผลกระทบทำให้ผลผลิตเสียหาย
      ทั้งนี้ ได้มีการคาดการณ์ผลผลิตข้าวของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งจะสามารถผลิตได้สูงถึง 12 ล้านตัน ในปี 2561 โดย กระทรวงเกษตรของสหรัฐ (ยูเอสดีเอ) ได้คาดการณ์ว่าผลผลิตข้าวของฟิลิปปินส์จะสูงขึ้นร้อยละ 2.69 เทียบจากผลผลิตในปี 2560 อยู่ที่ประมาณ 11.69 พันล้านตัน
      ยูเอสดีเอได้ประมาณการผลผลิตข้าวของฟิลิปปินส์ ปี 2560/2561 อยู่ที่ 12 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 8 แสนตัน หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2560 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 จากเฉลี่ยทั้งปี 2559 ซึ่งเป็นผลจากการจำกัดปริมาณนำเข้าข้าวส่งผลต่อแรงจูงใจของเกษตรกรให้ยังคงปลูกข้าวเพิ่มขึ้น
      นอกจากนี้ ยูเอสดีเอ ระบุว่า การใช้พันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงและสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยจะช่วยเพิ่มผลผลิต ข้าวสารในปีนี้ ประกอบกับพายุที่จะเข้ามาสร้างความเสียหายน้อยกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวในปี 2561 
มีถึง 4.8 ล้านเฮกเตอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.69
      อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์ว่าฟิลิปปินส์จะนำเข้าข้าวจาก 1.7 ล้านตัน เป็น 1.3 ล้านตัน แต่ตัวเลขการนำเข้า ข้าวยังคงสูงกว่าการนำเข้าในปี 2560 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.18 ที่มีการนำเข้าข้าว 1.1 ล้านตัน เพราะคาดว่าสต็อกข้าว เริ่มต้นของฟิลิปปินส์ในปี 2561 อยู่ที่ 1.99 ล้านตัน แต่มีความต้องการข้าวทั้งหมดอยู่ที่ 12.9 ล้านตัน หรืออาจจะมีความต้องการสูงถึง 15.27 ล้านตัน
      ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
 อินโดนีเซีย
      
ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของ BULOG รายงานว่า อินโดนิเชียสามารถนำเข้าข้าวจากต่างประเทศได้เพียง 346,000 ตัน หรือร้อยละ 69.2 ของข้าว 500,000 ตัน ที่ตั้งเป้าว่าจะนำเข้าในต้นปีนี้ เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านเวลาในการส่งมอบ โดยการประมูลข้าวครั้งที่ผ่านมามีผู้ชนะการประมูลทั้งสิ้น 8 บริษัท ได้แก่ Vinafood I และ II จากเวียดนาม พงศ์ลาภ, Capital Cereal และAsia Golden จากไทย Amir Chand จากอินเดีย Al Buhks และSind Agro จากปากีสถาน โดยบริษัท Vinafood II และบริษัทที่ชนะการประมูลจากไทยจะมาเซ็นสัญญาก่อน  ทั้งนี้ BULOG ได้กำหนดเส้นตายวันส่งมอบข้าวภายใน 28 กุมภาพันธ์ 2561 โดยที่ข้าวจากประเทศเวียดนาม และไทย จะใช้เวลาในการขนส่ง 5 วัน ส่วนข้าวจากประเทศอินเดีย และปากีสถาน จะใช้เวลา 14-16 วัน จากข้อมูลของธนาคารกลางอินโดนิเชีย พบว่าราคาข้าวสารที่ขายในกรุงจากาตาร์สูงขึ้นถึงร้อยละ 17.7 จากช่วงกันยายนของปีที่ผ่านมา   
      ที่มา : JAKARTA POST


ปาล์มน้ำมัน 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
 
          สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2561 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมกราคมจะมีประมาณ 0.998 
ล้านตันคิด เป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.170 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.014 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.172 ล้านตัน ของเดือนธันวาคม 2560 คิดเป็นร้อยละ 1.58 และร้อยละ 1.16 ตามลำดับ
 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
          ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.98 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 2.89 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.11  
                                                  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 19.13 บาท ลดลงจาก กก.ละ 19.58 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.30                     
    
2.  ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
          ราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวสูงขึ้น 
          ราคาน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายล่วงหน้าตลาดมาเลเซียส่งมอบในเดือนเมษายน 2561 ปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ 2,521 ริงกิตต่อตัน (644.59 ดอลลาร์สหรัฐฯ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ซึ่งราคาน้ำมันปาล์มดิบได้ปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ 16 มกราคม 2561 ราคาอยู่ที่ระดับ 2,526 ริงกิตต่อตัน เนื่องจากในช่วงไตรมาสแรกผลผลิตปาล์มน้ำมันของมาเลเซียคาดว่าจะลดลง และจะเพิ่มขึ้นเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงไตรมาสที่ 3 ซึ่งที่ผ่านมาในเดือนธันวาคม 2560 ปริมาณน้ำมันปาล์มดิบลดลงอยู่ที่ระดับ 1.8 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 5.6 เนื่องจากมีการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบเพิ่มขึ้น
ราคาในตลาดต่างประเทศ   
          ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,487.52 ดอลลาร์มาเลเซีย  (20.42 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 2,518.26 ดอลลาร์มาเลเซีย  (20.64 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.22                               
          ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 668.75 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (21.35 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 671.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (21.56 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.43    
   
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน


ประมง
 
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต

           ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 19 – 25 มกราคม 2561 ) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ 
การตลาด
           ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
           2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.92 บาท         ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 44.03 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.11 บาท
           สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
           2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.51 บาท ราคาลดลงจาก
กิโลกรัมละ 86.34 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.83 บาท
      สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
           2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
            สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
           2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 180.91 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
           สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ  185.00บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 185.72 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.72  บาท 
           2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.64 บาท    ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.56 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.08 บาท
           สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
           2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ   174.00 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 170.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.00 บาท
      สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00  บาท  ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
           2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.36 บาท      ราคาราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.30 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.36 บาท 
           สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 12 - 18 มกราคม 2561) ราคาเฉลี่กิโลกรัมละ 34.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
           ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2561 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – กันยายน 2561) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.07 ล้านไร่ ผลผลิต 28.57 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.54 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2560ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.91 ล้านไร่ ผลผลิต 30.94 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.47 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยวและผลผลิตลดลงร้อยละ 9.43 และ 7.66 ตามลำดับ ส่วนผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นร้อยละ 2.02 โดยเดือนมกราคม 2561 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 4.24 ล้านตัน (ร้อยละ 14.84 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2561 ออกสู่ตลาดแล้ว (เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2560) ปริมาณ 5.36 ล้านตัน (ร้อยละ 18.72 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
           ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการมันสำปะหลัง ประกอบกับราคาส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นด้วย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
           ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.04 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.99 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 2.51
           ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.96 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.81
ราคาขายส่งในประเทศ
           ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.31 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.33 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.32
           ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.22 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.16 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.46
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
           ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 215 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 6,773 บาท ราคาทรงตัวในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 42 บาท 
           ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 435 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 13,704 บาท 
           ราคาทรงตัวในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 84 บาท